• : 061-8794565, 025741619

    ความรู้เรื่องไข้เลือดออก กับ BKK NA

    By : admin | Date : 2014-12-28 14:26 | View : 3852


    ความรู้เรื่องไข้เลือดออก กับ BKK NA

              ไข้เลือดออก บางคนเดินเข้าโรงพยาบาลไปนอนรักษาง่ายๆ ไม่กี่วันก็กลับบ้าน แต่บางคนสามารถมีอาการหนักจนถึงขั้นเข้าห้องไอซียู ให้เลือด ให้น้ำเกลือ หากร่างกายอ่อนแอจนไม่สามารถต้านทานไหว หรือเข้าสู่ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด ก็อาจเสียชีวิตภายในเวลาไม่กี่วันได้เช่นกัน (อ่านเรื่อง ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดคืออะไร ที่นี่)
    ปัจจุบันไข้เลือดออกกำลังเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขและการแพทย์ของประเทศไทย เพราะแต่ละปีมีผู้ป่วยจากทุกภาคเป็นจำนวนมากส่วนใหญ่เป็นเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี และโรคนี้มักระบาดมากในฤดูฝนเพราะมียุงลายชุกชุม
    ไข้เลือดออก คือ เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเด็งกีซึ่งเป็นไวรัสชนิดหนึ่ง มียุงลายเป็นพาหะนำโรค กล่าวคือ ยุงลายจะกัดคนที่เป็นโรคไข้เลือดออกก่อนแล้วจึงไปกัดคนที่อยู่ใกล้เคียงก็จะเป็นการแพร่เชื้อให้คนอื่นๆ ต่อไป 

    การติดต่อของโรคไข้เลือดออก

              โรคไข้เลือดออก มักติดต่อจากคนไปสู่คน ซึ่งมียุงลายเป็นตัวพาหะที่สำคัญ (Aedes aegypt) โดยยุงตัวเมียจะกัดและดูดเลือดของผู้ป่วยที่มีเชื้อไวรัสเดงกี จากนั้นเชื้อจะเข้าไปฟักตัวและเพิ่มจำนวนในตัวยุงลาย ทำให้มีเชื้อไวรัสอยู่ในตัวของยุงตลอดระยะเวลาของมันประมาณ 1 - 2 เดือน แล้วถ่ายทอดเชื้อไปสู่คนที่ถูกกัดได้ ยุงลายเป็นยุงที่อาศัยอยู่ในบริเวณบ้าน มักออกกัดเวลากลางวัน มีแหล่งเพาะพันธุ์ คือ น้ำนิ่งที่ขังอยู่ในภาชนะเก็บน้ำต่างๆ อาทิ โอ่ง แจกันดอกไม้ ถ้วยรองขาตู้ จาน ชาม กระป๋อง หม้อ ยางรถยนต์ หรือกระถาง เป็นต้น
    โรคไข้เลือดออก พบโดยมากในฤดูฝน เนื่องจากในฤดูนี้เด็กๆ มักจะอยู่บ้านมากกว่าฤดูอื่นๆ อีกทั้งยุงลายยังมีการแพร่พันธุ์มากในฤดูฝน ซึ่งในเมืองใหญ่ๆ อย่าง กรุงเทพฯ อาจพบโรคไข้เลือดออกนี้ได้ตลอดทั้งปี

    ไข้เลือดออก อันตรายถึงชีวิต

              ผู้ป่วยบางรายแค่มีอาการไข้ขึ้นสูง พอไข้ลดก็กลับบ้านได้เลย แต่ผู้ป่วยบางรายอาการหนัก ทั้งนี้ขึ้นอยู่เชื้อที่ได้รับ และภูมิต้านทานโรคของตัวผู้ป่วยเอง จึงทำให้ความรุนแรงของอาการไข้เลือดออกในแต่ละคนไม่เท่ากัน

    ช่วงที่อันตรายที่สุด ของโรคไข้เลือดออก

              ในช่วงที่รักษาตัวจนไข้ลด ภายใน 48 ชั่วโมง ผู้ป่วยที่มีอาการหนักอาจเกิดอาการช็อก หรือเลือดออกตามร่างกาย ซึ่งสาเหตุจากการเสียชีวิตในโรคนี้ก็มาจากอาการช็อก ร่างกายขาดน้ำอย่างรุนแรง (แม้เราจะไม่เห็นผู้ป่วยมีอาการขาดน้ำจากภายนอกแต่ย่างใด) น้ำในหลอดเลือดจะไหลไปอยู่ในเนื้อเยื่อข้างเคียง ความดันเลือดลดลง จนเกิดอาการช็อกตามมา แต่หากไม่แสดงอาการใดๆ ก็จะถือว่าปลอดภัยแล้ว

    ลักษณะของยุงลาย

              ยุงลายที่เป็นพาหะของโรคไข้เลือดออก คือ ยุงลายตัวเมีย มีลักษณะเป็นลายสีขาวสลับดำที่ท้อง ลำตัวและขา พบมากตามบ้านอยู่อาศัยและในสวน ออกหากินในเวลากลางวันและขยายพันธุ์โดยวางไข่ในน้ำนิ่ง พบบ่อยตามภาชนะที่มีน้ำขัง เช่น โอ่งน้ำ แจกันดอกไม้ จานรองขาตู้กับข้าว ยางรถยนต์เก่า และเศษวัสดุอื่นๆ เป็นต้น

     


    Comment